วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


โรคหลอดเลือดสมอง

ภาวะสมองขาดเลือดคืออะไร

ภาวะสมองขาดเลือดถือว่าเป็นหนึ่งในโรคสำคัญที่พบได้บ่อยในสังคมเรา และกลายเป็นปัญหาหนักต่อตัวผู้ป่วยเอง ต่อครอบครัวของผู้ป่วย รวมทั้งต่อสังคมโดยทั่วไปด้วย โรคนี้จะทำให้เกิดอาการอัมพาตเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจสูญเสียความสามารถในการพูดและหรือการมองเห็น ภาวะสมองขาดเลือดมีสาเหตุจากการที่ร่างกายไม่สามารถลำเลียงเลือดไปเลี้ยงสมองได้ เนื่องจากเกิดการอุดตันของเส้นเลือด ส่งผลให้ออกซิเจนและสารอาหารอื่นไม่สามารถขึ้นไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ หลังจากนั้นเซลล์สมองก็จะตายในเวลาเพียงสั้นๆ

นอกจากนี้ ภาวะสมองขาดเลือดอาจเกิดขึ้นจากการมีเลือดออกในสมองเนื่องจากภาวะหลอดเลือดแตก ซึ่งอัตราการเกิดขึ้นของกรณีนี้มีประมาณ 12% ของภาวะสมองขาดเลือดทั้งหมด

ความรุนแรงของภาวะสมองขาดเลือดจะมากหรือน้อยเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้อเยื่อสมองที่ถูกทำลาย โดยธรรมชาติแล้วสมองด้านซ้ายจะควบคุมการทำงานของอวัยวะซีกขวาและการพูด โดยสมองด้านขวาควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้าย

โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือโรคสมองขาดเลือดหรือที่นิยมเรียกกันว่า  Stroke ในทางการแพทย์มักจะเรียกกันว่า CVD "Cerobrovascular disease "โรคหลอดเลือดสมองทำให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาต (แขนและขาอ่อนแรงครึ่งซีก) มีปัญหาทางด้านความคิด สูญเสียความจำ มีปัญหาทางด้านการพูด อารมณ์แปรปรวน การเกิดภาวะสมองขาดเลือดเป็นประสบการณ์ที่ร้ายแรงมาก ภาวะสมองขาดเลือดที่มีเนื้อสมองตาย มักเกิดจากการขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยง โดยทั่วไปเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดแดงในสมองหรือหลอดเลือดแดงคาโรติด ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงบริเวณคอที่นำเลือดไปเลี้ยงบริเวณสมอง ภาวะสมองขาดเลือดนี้มักเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ ( Ischemic stroke) หรือภาวะหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) ซึ่งมักเกิดจากการที่ผนังหลอดเลือดแตกทำให้มีเลือดคั่งในเนื้อสมอง

ประมาณ 1ใน 3 ของผู้ป่วยมักมีอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวนำมาก่อน ลักษณะดังกล่าวมักเป็นเวลาสั้น ๆ เกิดขึ้นเมื่อเลือด และออกซิเจนไหลเวียนลดลงชั่วคราว ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือเรียกว่าTransient ischemic attack มีอาการเกิดขึ้นตั้งแต่ 2 – 3 นาทีถึงเป็นชั่วโมง เป็นสัญญาณเตือนบอกถึงความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองขาดเลือดเพิ่มขึ้นในอนาคต คนไทยเรียก โรคอัมพาต แต่ถ้าผู้ป่วยรายใดมีอาการไม่รุนแรงยังพอขยับได้เรียก โรคอัมพฤกษ์  ซึ่งจะต้องมี 3 ภาวะกล่าวคือ

ภาวะนี้จะต้องเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง
จากเหตุในข้อ 1 มีผลทำให้สมองบางส่วนสูญเสียหน้าที่ เช่นพูดไม่ได้ อ่อนแรง
ระยะเวลาที่เป็นต้องเกิน24 ชั่วโมง
  โรคอัมพาตเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนจะต้องทราบเกี่ยวกับโรคนี้ หลายท่านคงไม่ทราบว่าโรคนี้สามารถป้องกันได้ หลายท่านคงไม่ทราบว่าตัวเอง คุณพ่อ คุณแม่ ตลอดจนคนรู้จักหรือญาติมิตรมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ หากท่านทราบและปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม ก็สามารถป้องกันโรคนี้ได้    ดังนั้นจึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง และยังไม่พยายามที่จะลดความเสี่ยงเหล่านั้นได้ทราบถึงอันตรายและผลที่จะเกิดหากท่าเป็นโรคอัมพาต

หลายท่านยังมีความเข้าใจผิดว่าโรคอัมพาตรักษาไม่ได้ อัมพาตป้องกันไม่ได้ อัมพาตเป็นเฉพาะผู้สูงอายุ ทั้งหมดเป็นความเข้าใจผิด อัมพาตสามารถป้องกันได้ อัมพาตสามารถเป็นได้กับผู้ป่วยทุกอายุ และสามารถรักษาได้

การรักษาโรคอัมพาตให้ได้ผลผู้ป่วยต้องรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ท่านผู้อ่านต้องรู้ถึงสัญญาณอันตรายบทความนี้จะกล่าวถึง

ชนิดโรคหลอดเลือดสมอง 
  สัญญาณอันตราย
  ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอัมพาตและการป้องกัน
  อาการของโรคหลอดเลือดสมอง
  การลดปัจจัยเสี่ยง
  การวางแผนการตรวจและการรักษา
  โรคแทรกซ้อนของหลอดเลือดสมอง
  ผลของอัมพาต
  การเตรียมตัวก่อนออกจากโรงพยาบาล
  การทำกายภาพ
  คนปกติก็เป็นเส้นเลือดสมองตีบได้
  ความดันโลหิตสูง
  โรคเบาหวาน
  โรคไขมันในเลือดสูง
  โรคอ้วน
  โรคหัวใจวาย
  สูบบุหรี่
  กาแฟทำให้โรคหลอดเลือดสมองตีบเพิ่มขึ้น

อ้างอิงโดย http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/neuro/cva/index.htm#.USzBq6JdB8E

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น