วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์


องค์ประกอบในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

1. การอยู่คนเดียวลำพัง (aloneness) ทำให้เราได้มีเวลาอยู่กับตนเอง มีอิสระในความคิด เป็นการหลีกหนีจากสิ่งเร้าทางสังคมที่กระตุ้นอยู่ตลอดเวลา การอยู่คนเดียวทำให้มีโอกาสได้ฟังตัวเองและสามารถแสวงหาความต้องการหรือความพอใจให้ตนเองได้
2. การอยู่เฉย (inactive) มีส่วนช่วยกระตุ้นแนวโน้มของความคิดสร้างสรรค์ได้ การนั่งเฉยๆตามลำพังคนเดียวเป็นเวลานานพอทำให้เกิดความคิด ความรู้สึกที่เป็นอิสระ คิดจิตนาการและภาวะสร้างสรรค์
3. การฝันกลางวัน (day dreaming) ช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดแปลกใหม่ไม่เหมือนของเดิมขอบเขตจินตนาการจะกว้างขึ้นและสร้างสรรค์ขึ้น
4. การระลึกถึงความขัดแย้งในอดีตที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บทางจิตใจ (remembrance and inner replaying of past traumatic conflicts) เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ ความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดบาดแผลทางจิตใจเมื่อได้รับการแก้ไขแล้ว แม้จะยังไม่สมบูรณ์สามารถถูกกระตุ้นออกมาสู่จิตสำนึกพร้อมกับความรู้สึกที่คุ้นเคย ซึ่งจะก่อให้เกิดพลังอย่างสำคัญและสามารถเปลี่ยนเป็นผลงานของความคิดอันสร้างสรรค์ได้
5. ความเชื่ออะไรง่ายๆ (gullibility) คือความเต็มใจที่จะยอมรับบางสิ่งอย่างง่ายดายในกระทั่งมีการพิสูจน์ว่าสิ่งนั้นผิด ภาวะสร้างสรรค์มักจะสัมพันธ์กับการค้นพบการจัดระเบียบภายในตัวเรามากกว่าการสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาเลยซึ่งจะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ได้
6. ความตื่นตัวและระเบียบวินัย(alertness and discipline)จินตนาการ(imagination)การจรรโลงใจ(inspiration)ความรู้เองหรืออัชฌัตติกญาณ(intuition)และวุฒิสามารถ(talent)เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของภาวะสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีเหตุผลหรือมีระเบียบจะมีส่วนช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

          การเจริญสมาธิไม่ว่าจะเป็นสมถกรรมฐานหรือวิปัสสนากรรมฐานล้วนมีลักษณะของการอยู่คนเดียวตามลำพังไม่ว่าจะเป็นการทำสมาธิเป็นกลุ่มในสถานที่เดียวกันก็ตาม แต่ต่างคนต่างก็ปฏิบัติไม่ได้สนใจพูดคุยหรือกระทำอย่างอื่น การอยู่เฉยก็เป็นลักษณะที่สามารถเห็นได้ชัดในการเจริญสมาธิ การตื่นตัวและระเบียบวินัยก็เป็นลักษณะองค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ในขณะเจริญสมาธิ

         การฝึกสมาธิสามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองซีกขวาให้มีประสิทธิภาพในการการประมวลเอาความชำนาญในการคิดวิเคราะห์รวมถึงการใช้ภาษาของสมองซีกซ้ายร่วมกับความสารถทางศิลปะ ดนตรี ความรู้ตัวเองและความคิดสร้างสรรค์ของสมองซีกขวาเข้าด้วยกัน ทำให้ระดับของเชาวน์ปัญญาและเชาวน์อารมณ์เพิ่มขึ้น โดยได้ทำการศึกษาจากพริ้มเพรา ดิษยวณิชที่พบว่าการฝึกอบรมดังกล่าวตามหลักสูตรแบบเข้มเป็นเวลา 7 วัน สามารถเพิ่มระดับของเชาวน์อารมณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางจิตใจและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น