วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความคิดที่ทำลายสมอง



 
1.โกหกเป็นประจำ
การ โกหกเป็นประจำทำให้สมองต้องทำงานหนักกว่าปกติ จริงๆ แล้วสมองของคนเรายิ่งทำงานหนักก็ยิ่งดี
และมีข้อมูลจากการศึกษาทดลองทั้งกับสัตว์ทดลองและกับมนุษย์เองโดยตรงที่สนับสนุนเรื่องนี้
แต่การทำงานหนักของสมองมีอยู่ 2 อย่างคือ
หนึ่ง : ทำงานหนักในด้านดี ด้านสร้างสรรค์
และสอง : ทำงานหนักในด้านไม่ดี ไม่สร้างสรรค์
เฉพาะการใช้สมองทำงานหนักในด้านสร้างสรรค์เท่านั้น จึงจะทำให้สมองมีประสิทธิภาพดียิ่งๆ ขึ้นไป

แต่คนโกหกเป็นประจำ สมองต้องทำงานหนักเป็นพิเศษในการที่จะต้องพยายามจำสิ่งที่ได้โกหกเอาไว้
และก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนของการใช้สมองทำงานหนักอย่างไม่สร้างสรรค์
การโกหกเป็นประจำจึงเป็นวิธีหนึ่งที่แน่นอน ทำลายประสิทธิภาพการทำงานของสมอง

2. คิดในทางไม่ถูกต้อง การใช้สมองคิดในทางที่ไม่ถูกต้อง
เป็นอีกวิธีหนึ่งของการทำลายประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้อย่างแน่ชัด
การคิดในทางที่ไม่ถูกต้อง คือ ผิดทำนองคลองธรรม ผิดกระบวนการ ผิดจริยธรรม ผิดจรรยาบรรณ ผิดกฎหมาย
ตัวอย่างเช่น การคิดหาทางร่ำรวยทางลัด การเจริญก้าวหน้าในด้านอาชีพโดยวิธีการทางลัด โดยทุกวิถีทาง
ไม่ว่าจะเป็นการคดโกง การประจบผู้บังคับบัญชา การวางแผนทำลายเพื่อนร่วมงาน
เพื่อตนเองจะได้รับตำแหน่งแทน การคิดหาช่องทางกอบโกยผลประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่ เช่น การคอร์รัปชัน
การแสวงหาผลประโยชน์ทับซ้อน โดยวิธีการที่แยบยล หรือผิดกฎหมาย ผิดประเพณีปฏิบัติที่ดีงาม โดยที่ไม่ต้อง
ได้รับการลงโทษ เหล่านี้เป็นวิธีที่แน่นอนอีกวิธีหนึ่งในการทำลายประสิทธิภาพการทำงานของ สมอง

3. หมกมุ่นอบายมุข
การคิดหมกมุ่นอยู่กับอบายมุข เช่น การพนัน คลั่งหวย ฯลฯ ทำให้สมองต้องทำงานหนักทั้งเวลาตื่นและหลับ
เพราะเวลาตื่นก็จะหมกมุ่นหาแต่อาจารย์เด็ด เลขเด็ด ตีความหมายของการฝันให้เป็นตัวเลข
เวลาหลับก็จะฝันแต่เรื่องเป็นตัวเลข พบเห็นสิ่งผิดปกติในธรรมชาติก็จะคิดเป็นตัวเลข
การหมกมุ่นกับอบายมุขทำลายทั้งประสิทธิภาพการทำงานของสมองและคุณภาพชีวิต

4. (เจ้า) คิด (เจ้า) แค้น
คน เจ้าคิดเจ้าแค้นเป็นประจำจะมีสภาพเป็นคนหมกมุ่นอยู่กับความคิดที่ไม่เป็นมงคล
สมองจะถูกทำลายเสมือนหนึ่งถูกอาบด้วยยาพิษเป็นประจำ ก็จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลในการทำลายสมอง

5. เครียด ฟุ้งซ่าน
ความ เครียด ความฟุ้งซ่าน ทำให้สมองต้องทำงานหนักอย่างผิดทาง
ทำให้สมองหลั่งสารหรือขาดสารบางอย่างที่หล่อเลี้ยงและกระตุ้นให้สมองได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เกิดอาการซึมเศร้าหรือฟุ้งซ่านอย่างหนัก ถึงขั้นขาดสติยั้งคิดทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย

6. ไม่ยอมคิด
ตรงกันข้ามกับคนที่คิดมากอย่างผิดทาง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงอย่างหนัก ก็คือ
คนที่ไม่ยอมคิดอะไรเป็นพิเศษขึ้นมาเลย นอกเหนือไปจากการคิดเพื่อชีวิตอยู่ไปวันๆ เช่น การกินอาหาร
การทำงานตามหน้าที่อย่างเคร่งครัดเท่านั้น เผินๆ อาจดูคล้ายผู้บรรลุในสัจจะแห่งชีวิตและธรรมแบบ "เต๋า"
แต่...ความว่างเปล่าของสมองแตกต่างอย่างมากกับผู้บรรลุแบบ "เต๋า"


ยังมีอีกหรือไม่ วิธีทำลายประสิทธิภาพการทำงานของสมอง?
คำตอบคือ มี!
แต่ 6 วิธีที่กล่าวถึงนี้ เป็นวิธีที่ต้องระวังกันมากที่สุด!




ข้อมูลจาก โพสต์ทูเดย์
อ้างอิงจากเว็บ http://blog.eduzones.com/racchachoengsao/36181
อ้างอิงรูปประกอบ http://www.loveeducation.net/knowledge.aspx?id=00319

10 พฤติกรรมที่ทำลายสมอง

                    วันนี้มี 10 พฤติกรรม ที่เป็นการทำลายสมองของเรามาฝากให้ได้อ่านกันค่ะ ถ้าอ่านแล้วพบว่าข้อไหนตรงกับพฤติกรรมของเราแล้วหล่ะก็ เลิกทำนะค่ะ งั้นเรามาดูกันเลยค่ะว่าพฤติกรรมใดบ้างที่เสี่ยงทำให้สมองของเราเป็นอันตรายค่ะ

                    1. ไม่ทานอาหารเช้า จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ นี่จะเป็นสาเหตุให้สารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้สมองเสื่อม

                    2. กินอาหารมากเกินไป จะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว เป็นสาเหตุให้เกิดโรคความจำสั้น

                    3. สูบบุหรี่ สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคสมองฝ่อและโรคอัลไซเมอร์

                   4. ทานของหวานมากเกินไป ไปขัดขวางการดูดกลืนโปรตีนและสารอาหารเป็นประโยชน์ เป็นสาเหตุของการขาดสารอาหารและขัดขวางการพัฒนาของสมอง

                   5. มลภาวะ สมองเป็นส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุดในร่างกาย การสูดเอาอากาศที่เป็นมลภาวะเข้าไปจะทำให้ ออกซิเจนในสมองมีน้อยส่งผลให้ประสิทธิภาพของสมองลดลง

                   6. อดนอนเป็นเวลานาน จะทำให้เซลล์สมองตายได้ เพราะการนอนหลับจะทำให้สมองได้พักผ่อน

                   7. นอนคลุมโปง ไปเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้น ลดออกซิเจนให้น้อยลง ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การทำงานของสมอง

                   8. ใช้สมองในขณะที่ไม่สบาย การทำงานหรือเรียนขณะที่กำลังป่วย จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงเหมือนกับการทำร้ายสมองไปในตัว

                   9. ขาดการใช้ความคิด การคิดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการฝึกสมอง การขาดการใช้ความคิดจะทำให้สมองฝ่อ

                   10. เป็นคนไม่ค่อยพูด ทักษะทางการพูดจะเป็นตัวแสดงถึงประสิทธิภาพของสมอง

                    เป็นไงค่ะทั้ง 10 ข้อที่อ่านมาไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมค่ะว่า พฤติกรรมแบบนี้จะทำลายสมองของเราได้ ดังนั้น เรามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันเถอะค่ะ เพื่อสมองที่ดีจะอยู่กับเราไปอีกนาน ๆ

ฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักกฎหมาย




 7 กลุ่มอาหารสร้างพลังสมอง



     หลังกำเนิดจำนวนของเซลล์สมองนั้นจะสามารถเพิ่มขึ้นได้แต่ไม่มากนัก แต่เซลล์สมองสามารถสร้างและพัฒนาเครือข่ายได้อย่างมีศักยภาพมากที่สุดในช่วง 3 ขวบปีแรก ผ่านการส่งเสริมให้เส้นใยที่ส่งข้อมูลในสมองแตกกิ่งก้านสาขาเพิ่มขึ้น ผ่านการสร้างประสบการณ์ ในขณะที่ส่วนของสมองที่เป็นเปลือกหุ้มเส้นใยสมอง หรือ นวมสมองที่เป็นตัวเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้สามารถสร้างเพิ่มขึ้นได้จากอาหารและการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ

อาหารจึงมีบทบบาทสำคัญในการสร้างความฉลาดให้สมอง ดังนั้นจึงแนะนำให้เด็กรับประทานอาหารที่ดีมีคุณภาพ และรับประทานให้หลากหลายโดยใช้หลักการของทฤษฎี 7 กลุ่มอาหาร จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหลักการทางโภชนาการที่ช่วยให้เกิดการรับประทานอาหารที่หลากหลาย เพื่อช่วยเสริมสร้างไอคิวลูกได้จริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งทฤษฏี 7 กลุ่มอาหารนี้ เป็นการบอกพื้นฐานทางโภชนาการที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน โดยแนะนำให้ทานอาหาร 7 ชนิดในหนึ่งวัน เป็นทฤษฎีจากสหรัฐอเมริกาที่ปฏิบัติตามได้ง่ายเหมาะกับยุคสมัย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน สมดุล เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีตามไปด้วยนั่นเองค่ะ


7 กลุ่มอาหารสร้างพลังสมอง อย่าลืมรับประทานให้ครบกลุ่มทุกวันนะคะเห็นประโยชน์ของ 7 กลุ่มอาหารมากขนาดนี้ มารู้จักทฤษฎี 7 กลุ่มอาหารว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้างกันเถอะค่ะ

กลุ่มที่ 1 ธัญพืช คาร์โบไฮเดรตจากข้าว แป้ง ผลิตภัณฑ์ข้าวแป้ง ธัญพืชที่ไม่ขัดสี

กลุ่มที่ 2 ผัก ให้ทั้งคาร์โบไฮเดรต แร่ธาตุ วิตามิน ใยอาหาร โปรตีน สารต้านอนุมูลอิสระ สารพฤกษเคมี

กลุ่มที่ 3 ผลไม้ มีใยอาหาร น้ำตาลฟรุตโตส วิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ สารสีที่ดีต่อร่างกายและสมอง

กลุ่มที่ 4 น้ำมัน ช่วยดูดซึมวิตามินเอ,ดี,อี,เค ที่ละลายในน้ำมัน เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งให้กรดไขมันที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองและระบบประสาท

กลุ่มที่ 5 นม โยเกิร์ต ชีส ที่ช่วยเพิ่มสารอาหารต่างๆ

กลุ่มที่ 6 เนื้อสัตว์ ที่ให้โปรตีนจากไข่ ปลา ไก่ หมู วัว อาหารทะเล ที่เป็นองค์ประกอบของเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เสริมระบบภูมิต้านทาน และการพัฒนาสมอง

กลุ่มที่ 7 ถั่ว ที่มีแร่ธาตุวิตามินบางชนิดจากถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วดำ ผลิตภัณฑ์จากถั่ว เต้าหู้

คุณแม่ควรระวัง!!...ลูกกินไม่มีคุณภาพ อาจมีผลกระทบต่อการเรียนรู้

เพราะจากงานวิจัยพบว่าเด็กไทยที่อยู่ในวัยเรียนรู้ในปัจจุบัน มีสัญญาณพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง จึงทำให้มีแนวโน้มว่าจะได้รับสารอาหารที่สำคัญบางชนิดไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ ทำให้สมองเรียนรู้ได้ช้า สมาธิน้อยลง และความจำไม่ดี ไม่อยากให้ลูกตกเป็นหนึ่งของกลุ่มเด็กไทยที่เผชิญกับภาวะการพัฒนาการไม่เต็มศักยภาพ อย่ามองข้ามการส่งเสริมการทานอาหารให้หลากหลายครบ 7 กลุ่มอาหารเพื่อให้มั่นใจว่าลูกจะได้รับสารอาหารที่มีคุณภาพครบถ้วน เพียงพอต่อความต้องการนะคะ


สำคัญไม่แพ้กัน 7 สารอาหารสำคัญ เพื่อเสริมศักยภาพสูงสุดให้ลูกรัก...
คุณแม่ควรคำนึงถึง 7 สารอาหารสำคัญ ที่เด็กต้องการเพื่อพัฒนาการที่ดีตามวัยด้วยค่ะ ซึ่งก็ได้แก่

1. แคลเซียม
2. วิตามินดี
3. สังกะสี
4. เหล็ก
5. ไอโอดีน
6. วิตามินบี 1 และสุดท้าย
7. วิตามินเอ ซึ่งสารอาหารแต่ละชนิดเหล่านี้ก็มีความสำคัญไม่แพ้กันค่ะ ซึ่งสามารถได้จากการรับประทานอาหารให้ครบ 7 กลุ่มในแต่ละวัน ซึ่งแต่ละสารอาหารมีความสำคัญไม่แพ้กันนะคะ

แคลเซียม มีความสำคัญต่อการสร้างกระดูกและฟัน การทำงานของระบบประสาท เด็กไทยควรดื่มนมให้มากพอเพราะเป็นแหล่งแคลเซียมที่เพียงพอต่อความต้องการ โดยนมเพียง 2-3 แก้วจะให้แคลเซียมได้ถึง 287.5 มิลลิกรัมเชียวค่ะ ส่วน วิตามินดี จะช่วยดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส ควบคุมการสร้างกระดูก มีในน้ำมันตับปลา ปลา และร่างกายยังสังเคราะห์ได้จากแสงแดด สังกะสี ก็เป็นส่วนประกอบของเอนไซน์ในร่างกายที่มีมากกว่า 200 ชนิด

ช่วยในระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายเติบโตดีด้วยค่ะ หาให้ลูกทานได้จากเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล นม สำหรับ เหล็ก นับว่าเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ขนส่งสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ทั่วร่างกายและสมอง พบได้ในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ เลือด ตับ ไข่แดง

ส่วน ไอโอดีน ที่รณรงค์ส่งเสริมก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์ มีหน้าที่ควบคุมการเติบโตของร่างกายและสมอง ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ช่วยพัฒนาสติปัญญาและการเรียนรู้ที่ดี สำหรับ วิตามินบี 1 ช่วยให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานได้ดี บำรุงระบบประสาท โดยเฉพาะปลายประสาทด้วยค่ะ สุดท้าย วิตามินเอ มีความสำคัญต่อจอประสาทตา

ช่วยในการมองเห็น การเติบโตของร่างกาย การสร้างเม็ดเลือด กล้ามเนื้อและกระดูก การสร้างภูมิคุ้มกัน เมื่อไหร่ที่ลูกขาด ก็จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยได้ง่าย พัฒนาการการเจริญเติบโตก็ผิดปกติ ดังนั้นให้ลูกทานตับ ไข่แดง นม ผักผลไม้ที่มีเบต้าแคโรทีนด้วย ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ หรือโปรวิตามินเอ ซึ่งผักโขม ตำลึง ผักบุ้ง แครอท ฟักทองก็มีค่ะ เมื่อไม่ขาดสารอาหารเหล่านี้สมองลูกย่อมได้รับการพัฒนาให้มีไอคิวเพิ่ม และเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพของเขาค่ะ

http://women.sanook.com/938359/

โรคหลอดเลือดสมอง

ภาวะสมองขาดเลือดคืออะไร

ภาวะสมองขาดเลือดถือว่าเป็นหนึ่งในโรคสำคัญที่พบได้บ่อยในสังคมเรา และกลายเป็นปัญหาหนักต่อตัวผู้ป่วยเอง ต่อครอบครัวของผู้ป่วย รวมทั้งต่อสังคมโดยทั่วไปด้วย โรคนี้จะทำให้เกิดอาการอัมพาตเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจสูญเสียความสามารถในการพูดและหรือการมองเห็น ภาวะสมองขาดเลือดมีสาเหตุจากการที่ร่างกายไม่สามารถลำเลียงเลือดไปเลี้ยงสมองได้ เนื่องจากเกิดการอุดตันของเส้นเลือด ส่งผลให้ออกซิเจนและสารอาหารอื่นไม่สามารถขึ้นไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ หลังจากนั้นเซลล์สมองก็จะตายในเวลาเพียงสั้นๆ

นอกจากนี้ ภาวะสมองขาดเลือดอาจเกิดขึ้นจากการมีเลือดออกในสมองเนื่องจากภาวะหลอดเลือดแตก ซึ่งอัตราการเกิดขึ้นของกรณีนี้มีประมาณ 12% ของภาวะสมองขาดเลือดทั้งหมด

ความรุนแรงของภาวะสมองขาดเลือดจะมากหรือน้อยเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้อเยื่อสมองที่ถูกทำลาย โดยธรรมชาติแล้วสมองด้านซ้ายจะควบคุมการทำงานของอวัยวะซีกขวาและการพูด โดยสมองด้านขวาควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้าย

โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือโรคสมองขาดเลือดหรือที่นิยมเรียกกันว่า  Stroke ในทางการแพทย์มักจะเรียกกันว่า CVD "Cerobrovascular disease "โรคหลอดเลือดสมองทำให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาต (แขนและขาอ่อนแรงครึ่งซีก) มีปัญหาทางด้านความคิด สูญเสียความจำ มีปัญหาทางด้านการพูด อารมณ์แปรปรวน การเกิดภาวะสมองขาดเลือดเป็นประสบการณ์ที่ร้ายแรงมาก ภาวะสมองขาดเลือดที่มีเนื้อสมองตาย มักเกิดจากการขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยง โดยทั่วไปเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดแดงในสมองหรือหลอดเลือดแดงคาโรติด ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงบริเวณคอที่นำเลือดไปเลี้ยงบริเวณสมอง ภาวะสมองขาดเลือดนี้มักเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ ( Ischemic stroke) หรือภาวะหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) ซึ่งมักเกิดจากการที่ผนังหลอดเลือดแตกทำให้มีเลือดคั่งในเนื้อสมอง

ประมาณ 1ใน 3 ของผู้ป่วยมักมีอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวนำมาก่อน ลักษณะดังกล่าวมักเป็นเวลาสั้น ๆ เกิดขึ้นเมื่อเลือด และออกซิเจนไหลเวียนลดลงชั่วคราว ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือเรียกว่าTransient ischemic attack มีอาการเกิดขึ้นตั้งแต่ 2 – 3 นาทีถึงเป็นชั่วโมง เป็นสัญญาณเตือนบอกถึงความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองขาดเลือดเพิ่มขึ้นในอนาคต คนไทยเรียก โรคอัมพาต แต่ถ้าผู้ป่วยรายใดมีอาการไม่รุนแรงยังพอขยับได้เรียก โรคอัมพฤกษ์  ซึ่งจะต้องมี 3 ภาวะกล่าวคือ

ภาวะนี้จะต้องเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง
จากเหตุในข้อ 1 มีผลทำให้สมองบางส่วนสูญเสียหน้าที่ เช่นพูดไม่ได้ อ่อนแรง
ระยะเวลาที่เป็นต้องเกิน24 ชั่วโมง
  โรคอัมพาตเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนจะต้องทราบเกี่ยวกับโรคนี้ หลายท่านคงไม่ทราบว่าโรคนี้สามารถป้องกันได้ หลายท่านคงไม่ทราบว่าตัวเอง คุณพ่อ คุณแม่ ตลอดจนคนรู้จักหรือญาติมิตรมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ หากท่านทราบและปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม ก็สามารถป้องกันโรคนี้ได้    ดังนั้นจึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง และยังไม่พยายามที่จะลดความเสี่ยงเหล่านั้นได้ทราบถึงอันตรายและผลที่จะเกิดหากท่าเป็นโรคอัมพาต

หลายท่านยังมีความเข้าใจผิดว่าโรคอัมพาตรักษาไม่ได้ อัมพาตป้องกันไม่ได้ อัมพาตเป็นเฉพาะผู้สูงอายุ ทั้งหมดเป็นความเข้าใจผิด อัมพาตสามารถป้องกันได้ อัมพาตสามารถเป็นได้กับผู้ป่วยทุกอายุ และสามารถรักษาได้

การรักษาโรคอัมพาตให้ได้ผลผู้ป่วยต้องรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ท่านผู้อ่านต้องรู้ถึงสัญญาณอันตรายบทความนี้จะกล่าวถึง

ชนิดโรคหลอดเลือดสมอง 
  สัญญาณอันตราย
  ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอัมพาตและการป้องกัน
  อาการของโรคหลอดเลือดสมอง
  การลดปัจจัยเสี่ยง
  การวางแผนการตรวจและการรักษา
  โรคแทรกซ้อนของหลอดเลือดสมอง
  ผลของอัมพาต
  การเตรียมตัวก่อนออกจากโรงพยาบาล
  การทำกายภาพ
  คนปกติก็เป็นเส้นเลือดสมองตีบได้
  ความดันโลหิตสูง
  โรคเบาหวาน
  โรคไขมันในเลือดสูง
  โรคอ้วน
  โรคหัวใจวาย
  สูบบุหรี่
  กาแฟทำให้โรคหลอดเลือดสมองตีบเพิ่มขึ้น

อ้างอิงโดย http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/neuro/cva/index.htm#.USzBq6JdB8E

อาการของผู้ป่วยสมองอักเสบ

ผู้เป็นไม่มากจะมีอาการ
  • ไข้
  • อ่อนเพลียไม่มีแรง
  • เจ็บคอ
  • คอแข็ง
  • อาเจียน
  • ปวดศีรษะ
  • สับสน
  • กระสับกระส่าย
  • ซึม
  • ปวดหัวเมื่อแสงจ้าๆ
สำหรับผู้ที่มีอาการมากได้แก่
  • ซึม ไม่ค่อยรู้สึกตัว
  • สับสนไม่รู้วันหรือกลางคืน จำคนไม่ได้
  • ชัก
  • ไข้สูง
  • ปวดศีรษะมาก
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • มือสั่น
  • คอแข็ง
สาเหตุ
สาเหตุของสมองอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส การติดต่อโดยมากเกิดจากยุง ไรกัด เช่นโรคสมองอักเสบจากไวรัสสายพันธ์ยี่ปุ่น japaness encephalitis บางชนิดเกิดจากการที่สัตว์เช่นค้างคาวหรือสุนัขกัด เช่นโรคหมาบ้า
ประเภทของการติดเชื้อแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
  • ติดเชื้อครั้งแรก Primary encephalitis หมายถึงการติดเชื้อไวรัสเป็นครั้งแรกและเชื้อนั้นก็ทำให้เกิดสมองอักเสบ มักจะมีการระบาดเป็นครั้งคราว เช่นไขสมองอักเสบสายพันธ์ญี่ปุ่น
  • สมองอักเสบซึ่งเกิดจากเชื้อที่อยู่ในร่างกายเรียก Secondary (post-infectious) encephalitis เช่นสมองอักเสบจากเชื้อเริม
เชื้อที่เป็นสาเหตุของสมองอักเสบ
  1. Herpes viruses เมื่อคนได้รับเชื้อจะทำให้เกิดโรคเริมซึ่งอาจจะเกิดแผลที่ปากหรืออวัยวะเพศ หลังจากนั้นเชื้อจะอยู่ในร่างกาย เมื่อคนมีภูมิลดลงเชื้อที่อยู่ในร่างกายจะกำเริบทำให้เกิดสมองอักเสบ อ่านโรคเริมที่นี่
    • Herpes simplex virus
    • Varicella-zoster virus
    • Epstein-Barr virus
  2. Childhood infections
    • Measles (rubeola)
    • Mumps
    • Rubella (German measles)
  3. Arboviruses สัตว์ที่เป็นแหล่งพักเชื้อได้แก่ หมู นก ยุงและไรจะเป็นตัวนำเชื้อโรคมาสู่คนโดยการกัดสัตว์ที่เป็นดรค และเมื่อมากัดคนก็จะปล่อยเชื้อสู่คน หากเชื้อมีปริมาณมากพอก็จะทำให้เกิดโรค
    • Eastern equine encephalitis
    • Western equine encephalitis
    • St. Louis encephalitis
    • La Crosse encephalitis
    • West Nile encephalitis
    • Japanese encephalitis เป็นโรคไข้สมองอักเสบที่พบมากในเอเซียปีละประมาณ 50000 รายและเสียชีวิตประมาณปีละ 15000 รายพบมากในเด็กและวัยรุ่น หมูเลี้ยงและนกเป็นสัตว์ที่มีเชื้อ โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค
ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดโรค
  • อายุ สมองอักเสบบางชนิดมักจะเป็นในเด็ก
  • ภูมิคุ้มกัน ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องมีโอการของสมองอักเสบสูงกว่าคนอื่น
  • ภูมิสาสตร์ ผู้ที่อาศัยหรือไปเที่ยวยังแหล่งที่มีการระบาดของโรคก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  • สภาพความเป็นอยู่ ผู้ที่มีกิจกรรมนอกบ้านมาก เช่นการวิ่งนอกบ้าน ตีกอลฟ์ การดูนก ดังนั้นในช่วงที่มีการระบาดต้องระวังเป็นพิเศษ
  • ฤดูกาล
การวินิจฉัยโรค
เมื่อมีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรคไข้สมองอักเสบโดยเแพาะรายที่มีไข้และมีการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึก ก็จะต้องตรวจพิเศษเพื่อวินิจฉัยแยกโรค การตรวจที่สำคัญได้แก่
  • การเจาะเอาน้ำไขสันหลังไปตรวจภาษาแพทย์เรียก Spinal tap (lumbar puncture) แพทย์จะใช้เข็มเจาะเข้าไขสันหลัง และเอาน้ำไขสันหลังไปตรวจ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง Electroencephalography (EEG).เป็นการวัดไฟฟ้าของสมอง การตรวจนี้จะมีประโยชน์มากในรายที่มีอาการชัก
  • การตรวจรังสีสมอง หรือการตรวจ computerized tomography (CT) or magnetic resonance imaging (MRI) scan จะบอกได้ว่าสมองส่วนไหนมีการบวม
  • การตรวจเนื้อเยื่อสมองเพื่อหาตัวเชื้อโรค
โรคแทรกซ้อน
ผู้ที่มีสมองอักเสบแบบรุนแรงอาจจะมีโรคแทรกซ้อนได้หลายประการ
  • เสียชีวิต
  • หายใจวาย
  • โคม่า
  • ความจำเสื่อม
  • ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อ
  • หูหนวกหรือตาบอด
เมื่อไรจึงจะพบแพทย์
หากคุณมีอาการดังกล่าวข้างต้นร่วมกับภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่น
  • เป็นเริมที่ปากหรืออวัยวะเพศ
  • เมื่อคุณเข้าป่า และสงสัยว่าถูกยุงกัด
  • เมื่อคุณไปในแหล่งที่มีการระบาดของโรค
การรักษา
โดยทั่วไปหากไม่รุนแรงอาจจะหายเองได้ โดย
  • การพักผ่อนให้พอเพียง
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • ยาแก้ปวดพาราเซ็ตตามอล
  • ยาแก้สมองบวม
  • ยากันชัก หากผู้ป่วยมีอาการชัก
แต่การรักษาโรคมักจะไม่มียาเฉพาะโรค เนื่องจากไวรัสที่เป็นสาเหตุไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษานอกเสียจากเชื้อไวรัสเริมอาจจะตอบสนองต่อการรักษา
การป้องกันโรค
เนื่องจากโรคนี้เมื่อเป็นแล้วไม่มียาที่รักษาเฉพาะ ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค เช่น ไข้สุกใส คางทูม หัดเยอรมัน วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ
  • ใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวเมื่อต้องออกนอกบ้าน
  • ทายากันยุงที่เสื้อผ้า ความเข้มข้นของยาขึ้นกับระยะเวลาที่ป้องกัน
  • หลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด โดยหลีกเลี่ยงแหล่งที่มียุงมาก
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  • ให้สำรวจสิ่งแวดล้อม ว่ามีสัตว์ตายผิดปกติบ้างหรือไม่
http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/neuro/encephalitis.htm

โรคสมองเสื่อม | โรคอัลไซเมอร์ |dementia | alzheimers




      ทุกท่านคงเคยได้ยิน ได้ฟัง เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ แต่จะรู้จักมากน้อยแค่ไหน สงสัยว่าตนเองหรือญาติป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่ และจะทำอย่างไรต่อไป เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้สักหน่อยดีไหม
อัลไซเมอร์ เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด โดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองทุกส่วนเป็นแล้วไม่มีวันหาย ผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่สามารถแยกทุกผิด มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา การประสานงานของกล้ามเนื้อเสียไป ความจำเสื่อม ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด  ในสหรัฐประมาณว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคนี้กว่า3-4 ล้านคน และจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก เนื่องจากประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 2-4 % ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากขึ้น กล่าวคือจะพบเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 5 ปี หลังอายุ 60 ปี
แม้ว่าโรคนี้จะไม่สามารถป้องกัน และไม่สามารถรักษา ญาติสามารถช่วยผู้ป่วยโดยการศึกษาโรคนี้และช่วยผู้ป่วยอย่างถูกวิธี
สาเหตุของโรค 
  1. จากความผิดปกติในเนื้อสมองจะพบลักษณะที่สำคัญสองอย่างคือกลุ่มใยประสาทที่พันกัน Neurofibrillary Tangles.และมีสาร Beta Amyloid ในสมอง ใยสมองที่พันกันทำให้สารอาหารไม่สามารถไปเลี้ยงสมอง การที่สมองมีคราบ Beta Amyloid หุ้มทำระดับ acetylcholine สมองลดลงสาร acetylcholine จะมีส่วนสำคัญในเรื่องการเรียนรู้และความจำ
  2. การอักเสบ inflammatory สาร amyloid เมื่อสลายจะให้สารอนุมูลอิสระออกมา อนุมูลนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์สมอง
  3. กรรมพันธุ์ โรค Alzheimer ทีเกิด late onset จะมีการเพิ่มของ gene ที่ควบคุมการสร้าง apolipoprotein E4 (ApoE 4) ส่วนที่เกิด early onset จะมีการเปลี่ยนแปลงของ gene presenilin-1 (PS1) และ presenelin-2 (PS2)

อาการจะเริ่มเป็นตอนอายุ 65 ปี แต่บางรายเป็นเร็วกว่านั้นอาจจะเริ่มตอนอายุ 40 ปีอาการเริ่มเป็นใหม่ๆจะมีอาการขี้ลืม และสูญเสียสมาธิ ซึ่งอาการแรกๆอาจจะวินิจฉัยยากเพราะอาการนี้ก็เป็นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ การดำเนินโรคจะค่อยเป็นค่อยไป และทรุดลงในช่วงระยะ 1-3 ปี มีปัญหาเรื่องวันเวลาสถานที่ และอาจหลงทางกลับบ้านไม่ถูก ลืมชื่อญาติสนิท หวาดระแวง สับสน โดยเฉพาะกลางคืนอาจไม่นอนทั้งคืน จะออกนอกบ้าน และมีพฤติกรรมก้าวร้าว บางคนก็กลับเปลี่ยนไป เป็นไม่สนใจสิ่งแวดล้อม งดงานอดิเรกที่เคยทำ เช่น เก็บกวาดต้นไม้ หรือดูทีวี อ่านหนังสือพิมพ์ ส่วนหนึ่งเพราะดูและอ่านไม่ค่อยเข้าใจ คิดคำนวณไม่ได้ ใช้จ่ายทอนเงินไม่ถูก เมื่อเวลาผ่านไปอีก 2-3 ปี อาการยิ่งทรุดหนัก ความจำเลวลงมาก จำญาติไม่ได้ เคลื่อนไหวช้าลง ไม่ค่อยยอมเดิน หรือเดินก็เหมือนก้าวขาไม่ออก ลังเล ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่นอาบน้ำ แปรงฟัน รับประทานอาหารไม่ได้ พูดน้อยลง ไม่เป็นประโยค ที่สุดก็ไม่พูดเลย กลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ ต้องมีคนดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลา 2-10 ปี โดยเฉลี่ย 10 ปี ด้วยโรคแทรก เช่น ติดเชื้อจากปอดบวม หรือแผลกดทับการดำเนินโรค
โรค Alzheimer สามารถแบ่งระยะของโรคได้ 3 ระยะได้แก่
  1. ระยะเริ่มแรกผู้ป่วยจะรับรู้ว่าขี้ลืม ลืมปิดเตารีด ลืมปิดประตู ลืมชื่อคน ลืมรับประทานยา ต้องให้คนช่วยเขียนรายการที่จะทำ
  2. ระยะที่สองผู้ป่วยจะสูญเสียความจำโดยเฉพาะความจำที่เพิ่งเกิดใหม่ๆโดยอาจจะจำเรื่องราวในอดีต เริ่มใช้คำพูดไม่ถูกต้อง อารมณ์จะผันผวน
  3. ระยะที่สาม ผู้ป่วยจะสับสน ไม่รู้วันรู้เดือน บางรายมีอาการหลงผิด หรือเกิดภาพหลอน บางรายอาจจะก้าวร้าวรุนแรง ปัสสาวะราด ไม่สนใจตนเอง
อันที่จริงโรคนี้มีมานานแล้วโดย Dr. Alois Alzheimer เป็นแพทย์ชาวเยอรมันเป็นผู้บรรยายไว้ตั้งแต่ปี คศ.1906 ที่นำมากล่าวขานกันระยะหลังนี้มากขึ้น ด้วยเหตุมีผู้ที่เคยเป็นผู้นำประเทศอย่าง Ronald Reagan ป่วยเป็นโรคนี้ และ วงการแพทย์ค้นพบปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและอาจเป็นสาเหตุของโรคนี้มากขึ้น ที่สำคัญคือ สามารถผลิตยาที่ช่วยทำให้อาการของอัลไซเมอร์ดีขึ้น
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงคือ 
  1. อายุ ยิ่งอายุมากยิ่งมีโอกาสเป็นมากดังกล่าว พบว่าร้อยละ25ของผู้ป่วยอายุ 85ปี เป็นโรคนี้
  2. โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความจำ การรักษาความดันจะทำให้ความจำดีขึ้น
  3.  เรื่องของกรรมพันธุ์ ถ้ามีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ โอกาสที่จะเป็นก็มากขึ้น เรื่องพันธุกรรมนี้มีความก้าวหน้าขึ้นมาก เช่น ทราบว่าความผิดปกติของยีน (gene) ที่สร้าง amyloid precursor protein จะทำให้ได้โปรตีนที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดตะกอนที่เรียกว่า amyloid plaques ในเนื้อสมอง และผู้ที่มี gene บนโครโมโซมที่ 19 ชนิด Apolipoprotein E4 จะมีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้มากกว่าคนปกติ นอกจากนี้ ยังพบโปรตีนที่ผิดปกติอื่นๆ เช่น Tau protein ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มใยประสาทที่พันกัน (Neurofibrillary tangles) ที่พบเป็นลักษณะจำเพาะของพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์
ยากับโรคอัลไซเมอร์
การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน เริ่มมีความสำคัญ ในต่างประเทศพบว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่รับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจนมีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์น้อยกว่า และเป็นโรคช้ากว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยานี้
ยากลุ่มต้านการอักเสบที่เรียกว่า NSAID ก็พบว่า อาจมีบทบาทลดอุบัติการณ์ของโรค เนื่องจากพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์มีประวัติใช้ยากลุ่มนี้น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็น นอกจากนี้ยาหรือสารต้านอ๊อกซิแดนท์ต่างๆ เช่น วิตามิน C และ E รวมถึงใบแปะก๊วย (gingo bibloa) ก็กำลังอยู่ในความสนใจ และมีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง ว่าอาจจะช่วยหรือป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้
ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีปริมาณเซลล์สมองลดลง และสารสื่อประสาท อะเซติลโคลีนลดลงด้วย สารสื่อประสาทนี้เป็นตัวเชื่อมโยงคำสั่งต่างๆ ของเซลล์สมองที่ควบคุมด้านความจำ ความคิดอ่านและพฤติกรรมต่างๆ เมื่อสารอะเซติลโคลีนลดลง จึงทำให้เกิดอาการต่างๆของโรคอัลไซเมอร์ ปัจจุบันมียาที่ช่วยเพิ่มปริมาณของสารอะเซติลโคลีนในสมอง โดยออกฤทธิ์ต้านเอ็นไซม์อะเซติลโคลีนเอสเตอเรสที่ย่อยสลายอะเซติลโคลีน ยานี้จึงช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มีอาการดีขึ้นได้ และชลอการทรุดลงของโรคถ้าได้ใช้ในระยะเริ่มแรก แต่จะไม่ทำให้โรคหายขาด
การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์
การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ต้องให้ความเข้าใจ เห็นใจ ว่าผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจที่จะก้าวร้าว หงุดหงิดอย่างที่เราเห็น แต่เป็นจากตัวโรคเอง ไม่ควรทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่มั่นใจ อาย หรือหงุดหงิด เช่น ถ้าคุยอะไรแล้วผู้ป่วยนึกไม่ค่อยออกหรือจำไม่ได้ ควรเปลี่ยนเรื่อง เอาเรื่องที่คุยแล้วมีความสุข ผู้ป่วยไม่สามารถคิดเลขได้ ไม่สามารถเล่นดนตรีแต่สามารถร้องเพลงพร้อมกับวิทยุ เล่นหมากรุกไม่ได้ แต่สามารถเล่นเทนนีสได้ หรือถ้ามีความคิดอะไรผิดๆ ไม่ควรเถียงตรงๆ ถ้าไม่จำเป็นก็อาจไม่ต้องอธิบายมาก เนื่องจากจะทำให้หงุดหงิด และหมดความมั่นใจ
ควรจัดห้องหรือบ้านให้น่าอยู่ สดใส ใช้สีสว่างๆ ถ้าในรายที่ชอบเดินไปมามากๆ ต้องใช้เทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออาจใช้การพาดเสื้อผ้า ไว้ที่ลูกบิดประตูเพื่อไม่ให้เห็นลูกบิด ต้องเก็บของมีคม หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าให้มิดชิด ปิดวาวล์เตาแก๊สไว้เสมอ เป็นต้น
ในรายที่มีอาการที่เริ่มจะดูแลยาก เช่น ก้าวร้าวมาก เอะอะโวยวาย สับสนมาก หรือ เดินออกนอกบ้านบ่อยๆ ควรพาไปพบแพทย์ระบบประสาท เนื่องจากอาจจำเป็นต้องใช้ยาช่วยลดอาการดังกล่าว
การดูแลผู้ป่วยตามระยะของโรค
ผู้ป่วยในระยะแรก 
  • บอกการวินิจฉัยให้แก่ผู้ป่วยเพื่อที่แพทย์จะสามารถให้การรักษาได้ตั้งแต่เริ่มเป็น แพทย์ ผู้ที่ดูแล และผู้ป่วยจะต้องมาปรึกษาว่าจะเกิดภาวะอะไรกับผู้ป่วย เช่นความจำ อารมณ์เป็นต้น
  • อารมณ์ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอารมณ์ที่ผันผวนอย่างรวดเร็ว อาจจะกร้าวและโกรธจัด พฤติกรรมนี้เกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง และเกิดจากที่ผู้ป่วยสูญเสียความรู้และไม่สามารถเข้าใจสิ่งต่างๆรอบตัว และไม่สามารถใช้คำพูดได้อย่างเหมาะสมจึงทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ที่แปรปรวน ผู้ให้การดูแลต้องจัดสิ่งแวดล้อมให้เรียบง่าย ให้เงียบ เวลาพูดกับผู้ป่วยต้องช้าๆ และให้ชัดเจน ไม่ให้ทางเลือกกับผู้ป่วยมากไปเนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้ถูกต้อง เช่นให้ผู้ป่วยเลือกเสื้อผ้าเอง ผู้ป่วยไม่สามารถเลือกเสื้อผ้าให้เข้ากันซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโกรธ เมื่อผู้ป่วยโกรธ หรือตะโกนอาจจะหาของว่างให้รับประทาน หรือขับรถให้ผู้ป่วยเที่ยวซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสงบ ผู้ให้การบริการจะต้องมีอารมณ์ทีสงบ อารมณ์ไม่ฉุนเฉียว
  • ความสะอาด ผู้ป่วยมักจะไม่อยากอาบน้ำ ผู้ป่วยอาจจะเลือกเสื้อผ้าไม่เหมาะสมผู้ดูแลอย่าโกรธ ต้องแสดงความเห็นใจ
  • การขับรถ เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ห้ามขับรถ ต้องป้องกันผู้ป่วยออกนอกบ้านโดยการ lock ประตูและอาจจะติดสัญญาณเตือนเมื่อผู้ป่วยออกนอกบ้านพยายามให้ผู้ป่วยออกกำลัง เช่นเดินครั้งละ 30 นาทีวันละ 3 ครั้งจะทำให้ผู้ป่วยเพลียและหลับง่าย
  • การนอนหลับ มีคำแนะนำให้เปิดไฟให้สว่างในเวลากลางวัน จะทำให้ผู้ป่วยหลับในเวลากลางคืน
การดูและในระยะท้ายของโรค
  • ผู้ป่วยจะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ หากมีอาการดังกล่าวจะต้องตรวจดูว่ามีโรคติดเชื้อหรือไม่ ผู้ดูแลสามารถกะเวลาปัสสาวะได้โดยกำหนดเวลา และปริมาณน้ำและอาหารที่ให้ และสามารถพาผู้ป่วยไปห้องน้ำได้ทัน
  • การเคลื่อนไหว ระยะท้ายผู้ป่วยจะจำไม่ได้ว่าเคลื่อนไหวอย่างไร จะนอนหรือนั่งรถเข็น ผู้ดูแลต้องคอยพลิกตัวผู้ป่วยทุกสองชั่วโมง ทำกายภาพบำบัดเพื่อแก้ข้อติด
  • การรับประทานอาหาร ผู้ป่วยจะกลืนอาหารไม่ได้ต้องให้อาหารทางสายยาง ผู้ดูแลต้องระวังสำลักอาหาร
http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/neuro/alzheimer/alzheimers.html#.USzC5qJdB8E



การนอนไม่หลับ
การนอนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต คนเราใช้เวลาหนึ่งในสามในการนอน แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการนอนเท่าใด คนเราจะมีช่วงที่ง่วงนอน 2ช่วงคือกลางคืน และตอนเที่ยงวันจึงไม่แปลกใจกับคำว่าท้องตึงหนังตาหย่อนในตอนเที่ยง
กลไกการนอนหลับ
เมื่อความมืดมาเยือนเซลล์ที่จอภาพ[retina] จะส่งข้อมูลไปยังเซลล์ประสาทที่อยู่ใน hypothalamus ซึ่งจะเป็นที่สร้างสาร melatonin สาร melatonin สร้างจาก tryptophan ทำให้อุณหภูมิลดลงและเกิดอาการง่วง การนอนของคนปกติแบ่งออกได้ดังนี้
  1. การนอนช่วง  Non-rapid eye movement {non- (REM) sleep} การนอนในช่วงนี้มีความสำคัญมากเพราะมีส่วนสำคัญในการทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาการและมีการหลั่งของฮอร์โมนที่เร่งการเติบโต growth hormone การนอนช่วงนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะได้แก่โดยการหลับจะเริ่มจากระยะที่1ไปจน REMและกลับมาระยะ1ใหม่
  • Stage 1 (light sleep) ระยะนี้ยังหลับไม่สนิทครึ่งหลับครึ่งตื่น ปลุกง่าย ช่วงนี้อาจจะมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อที่เรียกว่า hypnic myoclonia มักจะตามหลังอาการเหมือนตกที่สูง ระยะนี้ตาจะเคลื่อนไหวช้า
  • Stage 2 (so-called true sleep).ระยะนี้ตาจะหยุดเคลื่อนไหวคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ rapid waves เรียก sleep spindles
  • Stage 3 คลื่นไฟฟ้าสมองจะมีลักษณะ delta waves และ Stage 4ระยะนี้เป็นระยะที่หลับสนิทที่สุดคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ delta waves ทั้งหมด ระยะ3-4 จะปลุกตื่นยากที่สุดตาจะไม่เคลื่อนไหวร่างกายจะไม่เคลื่อนไหว เมื่อปลุกตื่นจะงัวเงีย
  1. การนอนช่วง Rapid eye movement (REM) sleep จะเกิดภายใน 90 นาที หลังจากนอนช่วงนี้เมื่อทดสอบคลื่นสมองจะเหมือนคนตื่น ผู้ป่วยจะหายใจเร็ว ชีพขจรเร็ว กล้ามเนื้อไม่ขยับ อวัยวะเพศแข็งตัว เมื่อคนตื่นช่วงนี้จะจำความฝันได้
เราจะใช้เวลานอนร้อยละ50ใน Stage 2 ร้อยละ 20ในระยะ REM ร้อยละ30 ในระยะอื่นๆ การนอนหลับครบหนึ่งรอบใช้เวลา 90-110นาที คนปกติต้องการนอนวันละ 8 ชั่วโมงโดยหลับตั้งค่ำจนตื่นในตอนเช้า คนสูงอายุการหลับจะเปลี่ยนไปโดยหลับกลางวันเพิ่มและตื่นกลางคืน จำนวนชั่วโมงในการนอนหลับแต่ละคนจะไม่เหมือนกันบางคนนอนแค่วันละ 5-6 ชั่วโมงโดยที่ไม่มีอาการง่วงนอน
อาการนอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับไม่ใช่โรคแต่เป็นภาวะหลับไม่พอทำให้ตื่นขึ้นมาแล้วไม่สดชื่น บางคนอาจจะหลับยากใช้เวลามากว่า 30นาทียังไม่หลับ บางคนตื่นบ่อยหลังจากตื่นแล้วหลับยาก บางคนตื่นเช้าเกินไป ทำให้ตื่นแล้วไม่สดชื่น ง่วงเมื่อเวลาทำงาน อาการนอนไม่หลับมักจะเป็นชั่วคราวเมื่อภาวะกระตุ้นหายก็จะกลับเป็นปกติแต่ถ้าหากมีอาการเกิน 1 เดือนให้ถือว่าเป็นอาการเรื้อรัง
การวินิจฉัย
แพทย์จะถามคำถาม 4คำถามได้แก่
  • ให้อธิบายว่ามีปัญหานอนไม่หลับเป็นอย่างไร
  • นอนไม่หลับเป็นมานานเท่าใด
  • เป็นทุกทุกคืนหรือไม่
  • สามารถทำงานตอนกลางวันได้หรือไม่
แพทย์จะค้นหาว่าอาหารนอนไม่หลับนั้นเกิดจากโรค จากยา หรือจากจิตใจ
คนเราต้องการนอนวันละเท่าใด
ความต้องการการนอนไม่เท่ากันในแต่ละคนขึ้นกับอายุ ทารกต้องการนอนวันละ 16 ชั่วโมง วัยรุ่นต้องการวันละ 9 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ต้องการวันละ 7-8 ชั่วโมง แต่คนบางคนก็อาจจะต้องการนอนน้อยเหลือเพียงวันละ 5 ชั่วโมง หากนอนไม่พอร่างกายต้องการการนอนเพิ่มในวันรุ่งขึ้น
เราอาจจะทราบว่านอนไม่พอโดยดูจาก
  • เวลาทำงานคุณมีอาการง่วงหรือซึมตลอดวัน
  • อารมณ์แกว่งโกรธง่ายโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอกับครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงาน
  • หลับภายใน 5 นาทีหลังจากนอน
  • บางคนอาจจะหลับขณะตื่นโดยที่ไม่รู้ตัว
ทั้งหมดเป็นการแสดงว่าคุณนอนไม่พอคุณต้องเพิ่มเวลานอนหรือเพิ่มคุณภาพของการนอน
การนอนหลับจำเป็นอย่างไรต่อร่างกาย
 ร่างกายเราเหมือนเครื่องจักรทำงานตลอดเวลาการนอนเหมือนให้เครื่องจักรได้หยุดทำงาน สะสมพลังงานและขับของเสียออก การนอนจึงจำเป็นสำหรับร่างกายมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีการศึกษาว่าการนอนไม่พอจะมีอันตรายการประสานระหว่างมือและตาจะเหมือนกับผู้ที่ได้รับสารพิษ ผู้ที่นอนไม่พอหากดื่มสุราจะทำให้ความสามารถลดลงอ่อนเพลียมาก การดื่มกาแฟก็ไม่สามารถทำให้หายง่วง
มีการทดลองในหนูพบว่าหากนอนไม่พอหนูจะมีอายุสั้น ภูมิคุ้มกันต่ำลง สำหรับคนหากนอนไม่พอจะมีอาการง่วงและไม่มีสมาธิ ความจำไม่ดี ความสามารถในการคำนวณด้อยลง หากยังนอนไม่พอจะมีอาการภาพหลอน อารมณ์จะแกว่ง การนอนไม่พอเป็นสาเหตุของอุบัติต่างๆ เชื่อว่าเซลล์สมองหากไม่ได้นอนจะขาดพลังงานและมีของเสียคั่ง นอกจากนั้นการนอนหลับสนิทจะทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (growth hormone)
จะปรึกษาแพทย์เมื่อไร
ถ้าหากอาการนอนไม่หลับเป็นมากกว่า 1 สัปดาห์ หรือทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลากลางวัน ก่อนพบแพทย์ควรทำตารางสำรวจพฤติกรรมการนอนประมาณ 10 วันเพื่อให้แพทย์วินิจฉัย ในการรักษาแพทย์จะแนะนำเรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการนอน ถ้าไม่ดีจึงจะให้ยานอนหลับ
การนอนหลับอย่างพอเพียงทั้งระยะเวลา และคุณภาพของการนอนหลับจะเป็นปัจจัยในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีเหมือนกับการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และการออกกำลังกาย 
ข่าวที่น่าสนใจ

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/neuro/insomnia/index.htm#.USzCRKJdB8E